โครงการ คลินิกคุณธรรมนำองค์กร (OD)

1. หลักการและเหตุผล
         ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการพัฒนาเป็นโรงพยาบาลคุณธรรม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างระบบธรรมาภิบาลในการบริหาร โปร่งใส  ซื่อสัตย์  ประหยัด  ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องบนพื้นฐานทางศีลธรรม  วัฒนธรรม  และหลักกฎหมาย ตลอดจนให้บริการด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ด้วยความมีน้ำใจ เคารพในศักดิ์ศรีคุณค่าของบุคคลอื่น โดยยึดหลักพอเพียง มีวินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู เป็นที่ไว้วางใจและได้รับการชื่นชมจากประชาชน ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2564 ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรทุกระดับของโรงพยาบาล ตลอดจนส่งเสริมบุคลากรให้ยึดหลักการทำงานบนพื้นฐานคุณภาพคู่คุณธรรม เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งบริการที่มีคุณภาพ ประชาชนสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุข ระบบบริการยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการคลินิกคุณธรรมนำองค์กร (OD) ขึ้น เพื่อให้โรงพยาบาลทุกแห่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง บุคลากรมีความสุขกับการทำงาน เบิกบานกับการทำหน้าที่ ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดจากการให้บริการที่มีคุณภาพ หรือจาก “คุณภาพไปสู่คุณธรรม”

2. วัตถุประสงค์
    1. เพื่อสร้างเจตคติที่ดีในการบริการ
    2. เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักคุณธรรมกับการให้บริการ
    3. เพื่อให้บุคลากรมีการพัฒนาด้านอารมณ์
    4. เพื่อให้บุคลากรมีพฤติกรรมการบริการที่ดี
3. กลุ่มเป้าหมาย / จำนวนผู้เข้าอบรม
    1. ผู้อำนวยการรองผู้อำนวยการผู้บริหารโรงพยาบาล
    2. หัวหน้ากลุ่มงาน / ฝ่ายหัวหน้างานคณะกรรมการบริหาร
    3บุคลากรในโรงพยาบาลทุกระดับ ทุกสหสาขาวิชาชีพ
    4. เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
4. สถานที่อบรม / อุปกรณ์
    1. ห้องประชุมภายใน หรือภายนอกโรงพยาบาล / องค์กร
    2. โปรเจคเตอร์พร้อมจอ
    3. เครื่องเสียง
    4. กระดาษ A4
    5. กระดาษ Flip chart , ปากกาเขียน whiteboard สีน้ำเงิน สีดำ สีแดง
    6. ตัดกระดาษรูปหัวใจ เท่าจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
    7. เตรียมปากกาเท่าจำนวนผู้เข้ารับการอบรม
5. ระยะเวลาการอบรม มี 3 หลักสูตร ดังนี้
    1. หลักสูตร ครึ่งวัน
    2. หลักสูตร 1 วัน
    3. หลักสูตร 2 วัน ไม่ค้างคืน
    4. หลักสูตร 2 วัน 1 คืน 
6. รูปแบบกระบวนการอบรม
    ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Cooperative Learning) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่การอบรม (Warm Up)  มีกิจกรรม เกมส์,เพลง และกิจกรรมนำเข้าสู่ธรรมะ
    ขั้นตอนที่ 2 ขั้นการฝึกอบรม (Presentation) เป็นขั้นตอน การนำเสนอเนื้อหาธรรมะโดยใช้สื่อมัลติมีเดียที่ทันสมัย, Power Point
    ขั้นตอนที่ 3 ขั้นฝึกปฏิบัติ (Practice) เป็นขั้นตอนให้ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติ การเจริญสติ-สมาธิ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ 
    ขั้นตอนที่ 4 ขั้นปฏิบัติการสะท้อนความคิดเห็น (Reflection) เป็นการให้ผู้เข้าอบรมสะท้อนเกี่ยวกับสิ่งที่ร่วมปฏิบัติและเรียนรู้มา
7. การประเมินผล
    หลักสูตร กระบวนการ ESB วิถีพุทธ  มีการวัดและประเมิน 3 ด้าน คือ ความรู้ การปฏิบัติ และเจตคติ ประเมินความพึงพอใจของบุคลากรผู้เข้าอบรม
8. ประโยชน์ที่จะได้รับ
    1. บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจหลักธรรมะกับการให้บริการ
    2. บุคลากรมีพฤติกรรมการบริการที่ดี
    3. บุคลากรมีการพัฒนาด้านอารมณ์
    4. บุคลากรมีเจตคติที่ดีในการบริการ
 9. พระวิทยากร 
     พระมหาอำคา วรปัญโญ, ดร. วัดป่าศรีสำราญ ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000
     ประวัติการศึกษา 
    - นักธรรมเอก 
    - เปรียญธรรม 3 ประโยค
    - ปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง
       มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
    - ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 
       มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
    - ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
      มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 

moral-hospital.com  © 2017 All rights reserved.

 
เว็บสำเร็จรูป
×